กยศ.เร่งยกเครื่องกฎหมาย ปลดล็อกคนค้ำเงินกู้อุ้มครู

 

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่…) พ.ศ. … แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของ กยศ.

โดยเฉพาะในเรื่องการชำระคืนกองทุน ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมเงินภายหลังที่สำเร็จการศึกษา เลิกการศึกษา หรือพ้นสภาพการศึกษาแล้วก็ได้ แต่อัตราดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดที่คิดณ วันทำสัญญา ต้องไม่เกิน 2% ต่อปี

จากเดิมอยู่ที่ 7.5% และห้ามคิดดอกเบี้ยทบต้น เพื่อปรับปรุงเพดานดอกเบี้ยและเงินเพิ่มให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของกองทุนที่ไม่แสวงหากำไร

ขณะเดียวกัน เพื่อบรรเทาภาระของผู้กู้ยืมเงินซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้หรือผู้ค้ำประกันให้สามารถชำระเงินคืนกองทุนได้ กองทุนอาจผ่อนผันให้ผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ค้ำประกันชำระเงินคืนกองทุนแตกต่างไปจากจำนวนระยะเวลา หรือวิธีการที่กำหนดไว้เดิม

โดยสามารถผ่อนผัน ลดหย่อน ปรับโครงสร้างหนี้ แปลงหนี้ใหม่ หรือระงับการชำระเงินคืนกองทุนได้ทุกเวลาตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินให้สามารถชำระเงินคืนกองทุนได้

ที่สำคัญ ยังมีการปลดล็อกให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบในหนี้ กรณีที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับการผ่อนผันลดหย่อนหนี้ หรือปรับโครงสร้างหนี้ แปลงหนี้ใหม่ หรือระงับการชำระเงินคืนกองทุน

รวมถึงตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป กยศ.ได้ยกเลิกการกำหนดให้มีผู้ค้ำประกันการชำระเงินคืนกองทุน สำหรับผู้กู้ยืมที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงิน และทำสัญญากู้ยืมเงินใหม่

“การที่มีผู้ค้ำประกัน มีกลายเป็นว่าจะมีลูกหนี้ อยู่ 2 คน แต่การที่ไม่มี ก็อาจทำให้หนี้ในอนาคตอาจจะเป็นหนี้เสียได้ แต่คำนวณแล้ว ก็ไม่ได้มาก จนกองทุนจะอยู่ไม่ได้

จึงมองว่าการปลดล็อกไม่ค้ำประกันผู้กู้รายใหม่ จะเป็นประโยชน์กับกลุ่มผู้กู้มากกว่า ซึ่งมีนักเรียน นักศึกษา ที่ได้รับประโยชน์จากการยกเลิกเงื่อนไขดังกล่าวกว่า 2.2 แสนคนแล้ว”

นอกจากนี้ กฎหมายที่แก้ไข คณะกรรมการกองทุนจะสามารถออกหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และการชำระเงินคืนกองทุน ให้ยืดหยุ่น

เช่น ผ่อนชำระเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปีได้และลำดับการตัดชำระให้หักต้นเงินก่อนแล้วจึงไปหักดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม รวมถึงมาตรการจูงใจอื่น ๆ ทั้งนี้ กฎหมายจะเข้าสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กรณีที่ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบในหนี้นั้น เนื่องจากที่ผ่านมา มีกรณีที่ครูไปค้ำประกันแล้วโดนเด็กเบี้ยวจ่ายหนี้ สร้างความเดือดร้อนให้กับครูผู้ค้ำประกันเป็นอย่างมาก

จึงได้พยายามแก้ไขปัญหาส่วนนี้ โดยให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบหนี้ และยกเลิกกำหนดให้มีผู้ค้ำประกันการชำระเงินคืนกองทุนด้วย เพราะที่ผ่านมาผู้กู้จะใช้พ่อแม่ หรือครูมาค้ำ

“ที่ผ่านมา ผู้ค้ำประกันได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก จึงจะให้ผู้กู้ดูแลตัวเอง หากอนาคตมีการผิดนัดชำระ ก็ไล่ตามที่เด็ก ไม่ต้องไปยุ่งกับพ่อแม่ หรือครู” แหล่งข่าวกล่าว